คำอธิบายหลักสูตร

           การฟ้อนรำพื้นบ้านอีสาน เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่มีเอกลักษณ์ สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนอีสาน ที่สัมพันธ์กับธรรมชาติสังคม และสิ่งแวดล้อม ชนชาติใดมีดนตรี มีศิลปะการฟ้อนรำเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน นับได้ว่าชนชาตินั้นมีวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรือง การออกแบบท่ารำหรือวาดฟ้อนแม่บทอีสานนับได้ว่าเป็นนาฏยศิลป์แขนงหนึ่งที่มีความละเอียดอ่อน เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของผู้ร่ายรำประกอบกับดนตรี หรือการขับร้อง รวมถึงการร้องหมอลำของคนอีสาน ผู้ฟ้อนหรือผู้ออกแบบท่าฟ้อนมักประดิษฐ์ท่าฟ้อนเพื่อสื่อความหมายประกอบอารมณ์หรือความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจสอดคล้องกับเนื้อหาที่ร้อง จังหวะ ดนตรี ท่วงท่าลีลาฟ้อนอาจมีความอ่อนช้อยสวยงาม เร่งเร้า สนุกสนานตามจังหวะดนตรี

          ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เล็งเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของศิลปะแขนงนี้ และเพื่อเผยแพร่ พัฒนา และสืบทอดศิลปะดังกล่าว จึงได้จัดโครงการ “วาดฟ้อนสะท้อนวิถีชีวิต” ขึ้น ซึ่งเป็นโครงการที่ประกอบไปด้วยการเสวนาและบรรยายทางวิชาการร่วมกับการประกวดวาดฟ้อนลำพื้นประชาสัมพันธ์ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิต หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับเยาวชนผู้ที่ต้องการสืบทอดศิลปวัฒนธรรมอีสาน ผู้ที่รักในการออกแบบท่าฟ้อนประกอบลำพื้น ทั้งนี้เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของครูผู้ถ่ายทอดและเพิ่มประสบการณ์รวมทั้งการพัฒนาตนเอง

 

วัตถุประสงค์

          1.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจความหมายและเล็งเห็นความสำคัญของศิลปะพื้นบ้านอีสาน
          2.เพื่อพัฒนาทักษะการออกแบบท่าฟ้อน และสามารถออกแบบท่าฟ้อนที่เหมาะสมกับเนื้อร้อง จังหวะ และทำนองลำพื้น
          3. เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตโดยใช้ท่าฟ้อนประกอบกลอนลำพื้น

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิต  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปัญญวัฒน์  ฉายาวรรณ์
หมายเลขโทรศัพท์ 0 4300 9700 ต่อ 45410  
e-mail : panyach@kku.ac.th     
เพจเฟซบุ๊ก CLE HUSO KKU : Center for Lifelong Education 

 


ช่วงวันรับสมัคร เริ่มรับสมัคร 16/09/2022 13:44
สิ้นสุดรับสมัคร 2022-11-05 16:59:00
ช่วงเวลาเรียน 05/11/2022 09:00 -
05/11/2022 12:00
จำนวนรับสมัคร 50
ประเภทหลักสูตร ภาษาอังกฤษ
สถานที่เรียน ห้องประชุม 3 อาคาร HS.05 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
URL Onsiteห้องประชุม 3 อาคาร HS.05 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รายละเอียดการชำระเงิน
บุคคลทั่วไป (Guest) 0
บุคลากร ม.ขอนแก่น (KKU Staff) 0
นักศึกษา ม.ขอนแก่น (KKU Student) 0
นักเรียน (Student) 0
ศิษย์เก่า ม.ขอนแก่น (KKU Alumni) 0
กรุณาตรวจสอบข้อมูลภายในวันที่ 05/11/2022

เนื้อหาหลักสูตร



ผู้สอนในหลักสูตร
ดร.วันดี พลทองสถิตย์ หรือหมอลำอุดมศิลป์

อาจารย์พิเศษ

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผศ.ดร.อิศเรศ ดลเพ็ญ

อาจารย์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อาจารย์ ดร.พงศธร ยอดดำเนิน

อาจารย์

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น