การประชุมวิชาการระดับชาติ การสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ ครั้งที่ 1

คำอธิบายหลักสูตร

1.หลักการและเหตุผล            

          ปัจจุบันมีชาวต่างชาติจำนวนมากสนใจเรียนภาษาและวัฒนธรรมไทย มีสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน  ตลอดจนสถาบันสอนภาษาในประเทศไทยและต่างประเทศ เปิดหลักสูตรการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติกันมาอย่างยาวนาน แต่พบว่าประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดสัทอักษรถ่ายถอดเสียงภาษาไทยเป็นระบบเฉพาะสำหรับสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ ให้เป็นรูปแบบหรือมาตรฐานเดียวกันเพื่อการอ้างอิงและใช้สอนร่วมกันได้ การใช้สัทอักษรถ่ายถอดเสียงภาษาไทยสำหรับสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ แตกต่างกันไปตามสถาบันหรือผู้สอน การกำหนดใช้สัทอักษรที่หลากหลายส่วนหนึ่งมาจากมุมมองทางสัทศาสตร์และสัทวิทยาภาษาไทยที่แตกต่างกัน และอาจมาจากแนวคิดที่ต้องการเอื้อประโยชน์แก่ผู้เรียนที่มาจากต่างภาษากันให้ออกเสียงได้ง่ายตามวิธีการเปล่งเสียงภาษาแม่ของตน ตัวอักษรที่ใช้ถ่ายถอดเสียงภาษาไทยส่วนใหญ่มักเป็นอักษรละติน แต่การกำหนดใช้อักษรละตินสำหรับการออกเสียงภาษาที่มีวิธีการออกเสียงแตกต่างกันบางครั้งอาจทำให้ผู้เรียนเกิดความสับสนในการออกเสียงภาษาไทยได้ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงได้ร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันสอนภาษาและวัฒนธรรมเอกชนรวมจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ศุมา สถาบันภาษาและวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  เพื่อจัดโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ การสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ ครั้งที่ 1 เรื่อง “การกำหนดสัทอักษรถ่ายถอดเสียงภาษาไทยสำหรับสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ” ขึ้น 
         การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูล เอกสาร และตำราที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดสัทอักษรถ่ายถอดเสียงภาษาไทยสำหรับสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติจากสถาบันต่าง ๆ เพื่อกำหนด
แนวทางและนำเสนอระบบสัทอักษรสำหรับการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และยังจะได้เสนอระบบสัทอักษรดังกล่าวต่อราชบัณฑิตยสภา เพื่อกำหนดใช้เป็นรูปแบบหนึ่งของการถ่ายถอดเสียงภาษาไทยสำหรับสอนภาษาไทยให้สอนชาวต่างชาติในลำดับต่อไป

          ในปีพุทธศักราช 2566 นี้ ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม ทั้งนี้ในข้อตกลงจากทั้ง 5 สถาบัน มีแนวความคิดจะให้มีการจัดประชุมขึ้นในทุก ๆ ปี โดยเจ้าภาพในการจัดการประชุมวิชาการจะสลับเปลี่ยนกันในแต่ละสถาบันซึ่งในอนาคตคาดหวังว่าจะมีสถาบันการศึกษาอื่น ๆ เข้าร่วมเครือข่ายมากขึ้น  การประชุมวิชาการในครั้งนี้จะแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงเช้าจะเป็นการเสวนาทางวิชาการโดยผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ และสถาบันสอนภาษาเอกชน และในช่วงบ่ายเป็นการนำเสนอบทความวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ ซึ่งมีเป้าหมายให้เกิดองค์ความรู้ด้านวิชาการและวิจัยร่วมกันระหว่างคณาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ

2.วัตถุประสงค์

          2.1 เพื่อกำหนดสัทอักษรถ่ายถอดเสียงภาษาไทยสำหรับสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติให้เป็นแนวทางเพื่อนำเสนอต่อราชบัณฑิตยสภา

           2.2 เพื่อสร้างเครือข่ายทางวิชาการด้านการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

          2.3 เพื่อส่งเสริมให้เกิดองค์ความรู้ด้านวิชาการและการวิจัยระหว่างคณาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ

3.รูปแบบการประชุม

         การเสวนาทางวิชาการและนำเสนอบทความ กำหนดจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2566 ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม  Zoom Meeting    สำหรับลิงก์ Zoom Meeting และเอกสารประกอบการประชุม จะส่งเข้าอีเมลผู้ลงทะเบียนในวันพุธที่ 19 กรกฎาคม พุทธศักราช 2566 

 

4.อัตราค่าลงทะเบียน

          - ผู้เข้าประชุมวิชาการและนำเสนอผลงาน  (Presenter)     
                        บุคคลทั่วไป  1,500  บาท

                        นักศึกษา     1,000  บาท

          - ผู้เข้าประชุมวิชาการโดยไม่นำเสนอผลงาน  (Participant) 
                         บุคคลทั่วไป    800  บาท

                         นักศึกษา       500  บาท

ชำระค่าลงทะเบียนได้ที่

          บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์           สาขา  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

          ชื่อบัญชี ค่าสมัครกลุ่มวิชาการ      หมายเลขบัญชี  551-3-02535-3     

          ประเภทบัญชี  กระแสรายวัน

          *ค่าลงทะเบียนรวมเอกสารประกอบการประชุม อาหารว่างและอาหารกลางวัน

          *ข้าราชการ พนักงานรัฐ สามารถเบิกจ่ายค่าลงทะเบียน ได้จากต้นสังกัดตามระเบียบกระทรวงการคลัง  ทั้งนี้ ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอสงวนสิทธิ์ว่า
การโอนเงินค่าลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมวิชาการมาแล้ว ไม่สามารถขอรับเงินคืนได้ไม่ว่ากรณีใด ๆ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม                                                                      

ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิต  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์   มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
ปัญญวัฒน์  ฉายาวรรณ์             หมายเลขโทรศัพท์ 0 4300 9700 ต่อ 45410  
E-mail: panyach@kku.ac.th    เพจเฟซบุ๊ก :  CLE HUSO KKU : Center for Lifelong Education   

 


ช่วงวันรับสมัคร เริ่มรับสมัคร 02/02/2023 10:28
สิ้นสุดรับสมัคร 2023-07-16 16:00:00
ช่วงเวลาเรียน 21/07/2023 08:30 -
21/07/2023 16:30
จำนวนรับสมัคร 50
ประเภทหลักสูตร ภาษาตะวันตก
สถานที่เรียน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
URL Onsiteคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รายละเอียดการชำระเงิน
บุคคลทั่วไป (Guest) 800
บุคลากร ม.ขอนแก่น (KKU Staff) 800
นักศึกษา ม.ขอนแก่น (KKU Student) 500
นักเรียน (Student) 500
ศิษย์เก่า ม.ขอนแก่น (KKU Alumni) 800
กรุณาตรวจสอบข้อมูลภายในวันที่ 16/07/2023

เนื้อหาหลักสูตร



ผู้สอนในหลักสูตร