โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รุ่น 3”
- คำอธิบายหลักสูตร
- เนื้อหาหลักสูตร
- ผู้สอนในหลักสูตร
- เอกสารหลักสูตร
- การชำระค่าลงทะเบียน
- รายชื่อผู้ลงทะเบียน 62 / 100
คำอธิบายหลักสูตร
ผู้ทำการศึกษาวิจัยและการทดลองในมนุษย์จะต้องได้รับการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วเท่านั้น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการและการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติและระดับชาติหลายฉบับซึ่งระบุว่าผลงานดังกล่าวต้องได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมก่อนการดำเนินการวิจัย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้พื้นฐานในหลักจริยธรรมการวิจัยและการวิจัยตามหลักมาตรฐานสากลและ สามารถนำไปใช้ในการวิจัย ปกป้องสิทธิและสวัสดิภาพของอาสาสมัครได้
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ในการทำวิจัยในมนุษย์
3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของผู้วิจัย และปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของนักวิจัยอย่างเคร่งครัด
4. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจวิธีปฎิบัติในการเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับการพิจารณารับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการการวิจัยในมนุษย์ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง
ผู้ผ่านการอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองจากศูนย์จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
คุณอัมพร รักหนองแซง
โทร 043 009 700 ต่อ 45448
e-mail: amporu@kku.ac.th
ช่วงวันรับสมัคร |
เริ่มรับสมัคร
13/12/2021 16:18
สิ้นสุดรับสมัคร 2022-01-21 22:00:00 |
||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ช่วงเวลาเรียน |
22/01/2022 08:30
-
23/01/2022 16:00 |
||||||||||
จำนวนรับสมัคร | 100 |
||||||||||
ประเภทหลักสูตร | ภาษาอังกฤษ | ||||||||||
สถานที่เรียน | Online | ||||||||||
URL | onlineOnline | ||||||||||
รายละเอียดการชำระเงิน |
|
เนื้อหาหลักสูตร
- ความเป็นมาและหลักการพื้นฐานของจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Respect for Persons - ประเด็นจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์, การวิจัยในกลุ่มเปราะบางและประเด็นอ่อนไหว, Beneficence - การประเมินประโยชน์และความเสี่ยง, Justice - การเลือกอาสาสมัครในการวิจัย
- ขั้นตอนและประเภทของงานวิจัยที่จะขอรับพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
- กระบวนการขอความยินยอมจากอาสาสมัคร
- กรณีศึกษาโครงการวิจัย และนำเสนอผลการอภิปราย
- เอกสารชี้แจงอาสาสมัคร และแบบแสดงความยินยอมเข้าร่วมการวิจัย
- แบบเสนอเพื่อขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
- การฝึกปฏิบัติการเขียนข้อความในประเด็นจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์
ผู้สอนในหลักสูตร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรพันธ์ ขัดชุ่มแสง
ประธานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ panel 3
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิรัช วงศ์ภินันท์วัฒนา
เลขานุการคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ panel 3
ศูนย์จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น