โครงการบรรยายทางวิชาการ “เรื่อง ศาสตร์และศิลป์ของกลอนอ่านอีสานในนรกภูมิกลอนอ่านจากไตรภูมิพระร่วงของพระญาลิไทย”
- คำอธิบายหลักสูตร
- เนื้อหาหลักสูตร
- ผู้สอนในหลักสูตร
- เอกสารหลักสูตร
- การชำระค่าลงทะเบียน
- รายชื่อผู้ลงทะเบียน 47 / 200
คำอธิบายหลักสูตร
ไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณคดีดีเด่นในประวัติวรรณคดีไทยสมัยสุโขทัยจากการประกาศของคณะกรรมการวรรณคดีแห่งชาติ ซึ่งพระราชนิพนธ์โดยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระญาลิไทย) พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย ทรงรวบรวมเนื้อเรื่องจากคัมภีร์พุทธศาสนา 30 คัมภีร์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเทศนาแก่พระมารดาและมุ่งหวังจะใช้เป็นเครื่องมือสำหรับสั่งสอนอบรมจิตใจประชาชนให้ประพฤติดี ประพฤติชอบ สอนให้รู้จักบาป บุญ คุณ โทษ วรรณคดีไตรภูมิพระร่วงจึงเป็นภาพสะท้อนวิถีชีวิตของคนไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมา และมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะแขนงต่าง ๆ ทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม สังคีตศิลป์ นาฏศิลป์ และวรรณศิลป์ กล่าวโดยเฉพาะด้านวรรณศิลป์ อันเป็นลักษณะเด่นประการหนึ่งของไตรภูมิพระร่วง ทั้งในด้านรูปแบบและเนื้อหาที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นภายใต้องค์ประกอบของวรรณศิลป์ ได้แก่ รูปแบบการนำเสนอ การใช้คำ การใช้ภาพพจน์ ตลอดจนองค์ประกอบทางวรรณคดี ซึ่งมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อสร้างพลังกระทบอารมณ์ ความรู้สึก และความคิดผู้อ่านผ่านภาษา ดังในตอนนรกภูมิ แนวความคิดความเชื่อในหนังสือไตรภูมิพระร่วงมีอิทธิพลและแพร่หลายสู่กวีและผู้อ่านอย่างกว้างขวาง ยกตัวอย่างมีการนำวรรณคดีไตรภูมิพระร่วงไปสร้างสรรค์ในรูปแบบวรรณกรรมท้องถิ่นมากมาย โดยเฉพาะในงานวรรณกรรมท้องถิ่นอีสานก็ปรากฏรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาดังกล่าวในบางช่วงบางตอนเป็นคำประพันธ์ท้องถิ่น เช่น กลอนลำ โคลง และกลอนอ่านอีสาน เป็นต้น กลอนอ่านอีสานเป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่งที่กวีอีสานโบราณนิยมนำมาแต่งเป็นวรรณกรรมเรื่องยาว สำหรับการอ่านเป็นท่วงทำนองภาษาอีสาน หรือสำหรับเทศน์ สวด และอ่าน เพื่อเป็นคติเตือนใจและความบันเทิงใจในโอกาสต่าง ๆ เช่น งานทำบุญ งานศพ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ “นรกภูมิ” ในหนังสือไตรภูมิพระร่วงของพระญาลิไทย จึงได้ถูกนำมาสร้างสรรค์อีกครั้งในรูปแบบของกลอนอ่านอีสานเพื่อสืบสานแนวความคิดและเผยแพร่คำประพันธ์ประเภทกลอนอ่านอีสานให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางยิ่งขึ้น
ด้วยเล็งเห็นประโยชน์ดังที่กล่าวแล้ว ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นศูนย์บริการวิชาการ ด้านการศึกษาตลอดชีวิตของผู้เรียนทุกช่วงวัย จึงได้จัดโครงการบรรยายทางวิชาการ เรื่อง “ศาสตร์และศิลป์ของกลอนอ่านอีสานในนรกภูมิกลอนอ่านจากไตรภูมิพระร่วงของพระญาลิไทย” ขึ้น เพื่อให้เห็นความงามทางวรรณศิลป์และกลวิธีการประพันธ์ของคำประพันธ์ประเภทกลอนอ่านอีสานในนรกภูมิ จากไตรภูมิพระร่วง และเพื่อเป็นการสืบสานและเผยแพร่ศาสตร์และศิลป์ของกลอนอ่านอีสานอีกทางหนึ่ง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เข้าใจคำประพันธ์ประเภทกลอนอ่านอีสานทั้งชนิดและรูปแบบคำประพันธ์
2. เพื่อให้เห็นความงามทางวรรณศิลป์และกลวิธีการประพันธ์ของคำประพันธ์ประเภทกลอนอ่านอีสาน
3. เพื่อสืบสานและเผยแพร่ศาสตร์และศิลป์ของกลอนอ่านอีสานให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
สำหรับผู้ลงทะเบียนมีความประสงค์จะเข้ารับฟังการบรรยายแบบ On-site ณ ห้อง Smart Learning ชั้น 4 โซน A อาคารรัตนพิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กรุณาแจ้งความประสงค์มาที่ e-mail : clehusokku@gmail.com ภายในวันศุกร์ที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2565
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิต
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
e-mail : clehusokku@gmail.com
โทร 043 009 700 ต่อ 45410
ช่วงวันรับสมัคร |
เริ่มรับสมัคร
02/03/2022 16:56
สิ้นสุดรับสมัคร 2022-04-08 20:59:00 |
||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ช่วงเวลาเรียน |
09/04/2022 08:30
-
09/04/2022 12:00 |
||||||||||
จำนวนรับสมัคร | 200 |
||||||||||
ประเภทหลักสูตร | ภาษาอังกฤษ | ||||||||||
สถานที่เรียน | ห้อง Smart Learning ชั้น 4 โซน A อาคารรัตนพิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น | ||||||||||
URL | onlineห้อง Smart Learning ชั้น 4 โซน A อาคารรัตนพิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น | ||||||||||
รายละเอียดการชำระเงิน |
|
เนื้อหาหลักสูตร
1. ศาสตร์และความสำคัญของกลอนอ่านอีสาน
2. คำศัพท์ที่บัญญัติใช้ในงานประพันธ์อีสาน
3. วรรณศิลป์ของกลอนอ่านอีสานใน “นรกภูมิกลอนอ่านจากไตรภูมิพระร่วงของพระญาลิไทย”
4. ชนิดและรูปแบบของฉันทลักษณ์กลอนอ่านอีสาน
5. ศาสตร์และกลวิธีการประพันธ์กลอนอ่านอีสาน
6. การสืบสานและเผยแพร่คำประพันธ์ประเภทกลอนอ่านอีสาน
ผู้สอนในหลักสูตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิศเรศ ดลเพ็ญ
อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
แสดงความคิดเห็น
ธนบัตร ศิริภัทรเมธากุล 2022-04-06 11:52:01
เป็นโครงการที่ทีความรู้สามารถนำไปใช้ในรายวิชาที่กำลังศึกษา
LING-JUAN LIAO 2022-04-07 11:46:46
Sawadeekha